๑.
ความสุขใจ เพราะ ใจที่มีความรักใคร่นับถือเป็นอารมณ์ย่อมแช่มชื่นเบิกบาน
๒.
ความสำเร็จในการดำรงชีวิต ชีวิตเรามีความสุขได้เพราะความสามัคคีของหมู่คณะ
ดังพุทธภาษิตที่ตรัสสั่งสอนไว้ว่า “สุขา สังฆัสสะ สามัคคี” แปลว่า ความพร้อมเพรียงของหมู่ทำให้เกิดสุข
โทษของการแตกสามัคคี
การแตกสามัคคีย่อมเป็นทางแห่งหายนะอย่างยิ่ง
และเป็นทางแห่งความทุกข์ ระทมขมขื่นเป็นอันมาก ทุก ๆ
สังคมถ้าแตกความสามัคคีกันแล้ว ความล่มจมตกต่ำก็จะเกิดขึ้น
ความกตัญญู
ความหมาย
ความกตัญญู หมายถึง ความเป็นผู้รู้คุณที่คนอื่นทำให้แก่ตน และ ความกตัญญูนี้ คือ ความดีที่เป็นพื้นฐานของคนดี
เมื่อคนดีมีความกตัญญูเป็นพื้นฐานแล้ว ความดีทั้งหลายก็ไหลไปอยู่กับคนดี
เหมือนลำธารทุกสายไหลลงสู่แม่น้ำใหญ่ แต่คนดีที่คิดทำดีต่อและสนองดีตอบนั้น มีอยู่
๒ จำพวก คือ
๑.
คนดีแบบมีเงื่อนไข (คนดีไม่บริสุทธิ์ เห็นแก่ตัว)
๒.
คนดีแบบไม่มีเงื่อนไข (คนดีบริสุทธิ์ ไม่หวังผลตอบแทน)
ลักษณะความกตัญญู
ลักษณะความกตัญญูที่นักศึกษาจะต้องแสดงออกให้ปรากฏนั้นมีอยู่
๓ ประเด็นที่ควร
ศึกษาคือ
๑.
กตัญญูต่อบุคคล เช่น ลูกกตัญญู ศิษย์กตัญญู พลเมืองกตัญญู และ
ศาสนิกชนมีความกตัญญู
๒.
กตัญญูต่อสัตว์ สัตว์ทั้งหลายที่มีคุณต่อมนุษย์นั้นมี ช้าง ม้า วัว ควาย เป็นต้น
ที่ใช้เป็นพาหนะ ลากซุง เทียมเกวียนและไถนา เป็นต้น คนกตัญญู
ย่อมรู้คุณของสัตว์เหล่านี้
๓.
กตัญญูต่อสิ่งที่ไม่มีวิญญาณ บรรดาสิ่งของเครื่องใช้ที่เป็นคุณประโยชน์แก่ตน
หรือสิ่งที่ป้องกันภัยอันตรายได้ในเวลาอับจนมาแล้ว
คนกตัญญูย่อมรู้สึกรักใคร่ไม่อยากให้ใครเอาไปได้หรือเอาไปทำลายเสีย
บางทีถึงต้องเปล่งวาจาว่าสิ่งนี้คู่ชีวิตทีเดียว ตัวอย่างเช่น
ไม้คานที่ใช้หาบของขาย เมื่อเจ้าตั้งตัวได้เป็นคนมั่งมีศรีสุขขึ้น
คิดถึงคุณของไม้คานได้ เลี่ยมทองเก็บไว้ เป็นที่ระลึก เป็นต้น
๑.
มีความซื่อสัตย์
๒.
จงรัก และภักดี
๓.
อ่อนน้อมถ่อมตน
๔.
มีสติระลึกได้อยู่เสมอ
๕.
ไม่ประทุษภัยต่อคน สัตว์ และสิ่งของ
๖.
ไม่ลบหลู่ดูหมิ่นผู้มีคุณ
สาเหตุที่แตกแยงชนชาติไทย เพราะไม่พอ และคำยัวยุค่ะ ด้วยความเคารพค่ะ, 🌹🙏☕
ตอบลบ