ปัจจัย ๔ ที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิตได้แก่
อาหาร ผ้านุ่งห่ม ที่อยู่อาศัย และยารักษา มีความสำคัญจำเป็น สำหรับการดำรงชีวิตของมนุษย์มากฉันใด
หลักธรรมพื้นฐานก็มีความสำคัญจำเป็นสำหรับการดำรงชีวิตมากฉันนั้น
๑.๒.๑
หลักธรรมพื้นฐานของศาสนาที่ตนนับถือเพื่อใช้ในการดำรงชีวิตในครอบครัว
หลักธรรมพื้นฐานของศาสนาที่ตนนับถือเพื่อใช้ในการดำรงชีวิตในครอบครัวจะอธิบายเป็นข้อๆ
ดังนี้คือ
หลักธรรมของคู่ชีวิต
หลักธรรมของคู่ชีวิต
ที่จะทำให้คู่สมรสมีชีวิตที่สอดคล้องกลมกลืนเป็นพื้นฐานอัน มั่นคง
ที่จะทำให้อยู่ครองกันได้ยืนยาวเรียกว่า
“สมชีวธรรม ๔ ”
สมชีวธรรม
๔ สมชีวธรรมมีข้อปฏิบัติ
๔ ประการ คือ
๑.
สมสัทธา มีศรัทธาสมกัน
เคารพนับถือในลัทธิศาสนา สิ่งเคารพบูชาและหลักการต่าง ๆ
ตลอดแนวความสนใจอย่างเดียวกัน หนักแน่นเสมอกันหรือปรับเข้าหากันลงกันได้
๒.
สมสีลา มีศีลสมกัน
คือ ความประพฤติ ศีลธรรมจรรยา มารยาท พื้นฐาน การ
อบรม
พอเหมาะพอสม สอดคล้องไปกันได้
๓.
สมจาคา มีจาคะสมกันคือ
มีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ ความโอบอ้อมอารี มีใจกว้าง ความเสียสละ
ความพร้อมที่จะช่วยเหลือเกื้อกูลผู้อื่นพอกลมกลืนกันไม่ขัดแย้งบีบคั้นกัน
๔.
สมปัญตา มีปัญญาสมกัน
คือ รู้เหตุ รู้ผล เข้าใจกัน อย่างน้อยพูดกันรู้เรื่อง
หลักธรรมของครอบครัว
หลักธรรมของครอบครัวเพื่อให้การดำรงชีวิตอยู่ร่วมกันเป็นไปอย่างดีมีความสุขเรียกว่า
“ฆราวาสธรรม ๔ ”
ฆราวาสธรรม ประกอบด้วยองค์ ๔ ประการที่ครอบครัวพึงปฏิบัติ
คือ
๑.
สัจจะ หมายถึง
สัตย์ซื่อต่อกัน
๒.
ทมะ หมายถึง
รู้จักข่มจิตตัวเอง
๓.
ขันติ หมายถึง
อดทน
๔.
จาคะ หมายถึง
สละให้ปันสิ่งของของตนแก่คนที่ควรให้ปัน หรือคนที่ควรแบ่งให้
๑.๒.๒
หลักธรรมพื้นฐานของศาสนาที่ตนนับถือเพื่อใช้ในการดำรงชีวิต
ในสังคม
หลักธรรมพื้นฐานของศาสนาที่ตนนับถือเพื่อใช้ในการดำรงชีวิตในสังคมสามารถอธิบายแยกเป็นข้อๆ
ได้ดังนี้
สามัคคีธรรม
ความหมาย สามัคคี คือ ความพร้อมเพรียงกัน คนตั้งแต่สองคนขึ้นไปมีความคิด เห็นร่วมกันและมีความรักใคร่นับถือกันปฏิบัติหน้าที่ร่วมกัน จนทำหน้าที่ได้สำเร็จ เรียกว่า มีความสามัคคี
ความสามัคคีมีประเด็นที่ต้องพิจารณาอยู่
๒ ประเด็นคือ การแสดงออกทางการทำงาน และความนึกคิดทางจิตใจ เพื่อสะดวกในการศึกษาเรื่องความสามัคคีแบ่งออกเป็น
2 อย่างคือ
๑.
ความสามัคคีทางกาย หมายถึง การร่วมด้วยช่วยกันการใช้แรงกายทำกิจกรรมต่างๆ
ให้บรรลุผลสำเร็จ
๒.
ความสามัคคีทางใจ หมายถึง การมีจิตใจที่จะกระทำสิ่งใดๆ
ร่วมกันโดยมีความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน
การปลูกความสามัคคี
วิธีปลูกความสามัคคีหรือสมานสามัคคี
ตามพุทธโอวาท ทรงสอนให้ยึดหลักธรรม ”สาราณียธรรม” หมายถึง ธรรมที่ควรพิจารณาอยู่เนื่อง ๆ
เป็นข้อปฏิบัติเป็นแนวปฏิบัติที่ทำให้บุคคลและกลุ่มคนมีความเห็นพร้อมต้องกัน
มีความสามัคคีกัน
สาราณียธรรม มีสาระที่สำคัญโดยย่อๆ ดังนี้คือ
๑.
จะทำจะพูดจะคิดสิ่งใด ก็ให้ทำ ให้พูด ให้คิดสิ่งนั้น ด้วยเมตตาจิตต่อผู้อื่น
๒.
รู้จักเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ต่อผู้อื่น
๓.
รักษาความประพฤติ กิริยามารยาทตลอดจนศีลธรรมวัฒนธรรมให้เสมอกับผู้อื่น
๔. มีความคิดเห็นร่วมกันกับคนอื่น
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น