1.ความละอายและเกรงกลัวต่อความชั่ว
(หิริโอตตัปปะ) ความละอายบาปละอายต่อการทำความชั่วทางศาสนาเรียกว่า “ หิริ ” คนที่มี หิริ
จะรู้สึกละอายต่อการทำความชั่วอยู่เสมอไม่ว่าจะมีใครเห็นหรือไม่ก็ตาม
2.การประกอบความดี
เป็นหลักธรรมสำคัญที่ทุกศาสนาสอนให้คนประพฤติปฏิบัติ จริยธรรมเบื้องต้นของการทำความดีนี้ พุทธศาสนาเรียกว่า กุศลธรรมบถ
ซึ่งแปลว่าทางแห่งกุศลธรรม มี 10 ประการ
แบ่งเป็น กายธรรม 3
วจีกรรม 4 มโนกรรม 4
3.การรู้จักโลกและและการรู้แจ้งโลกในทางพระพุทธศาสนาหมายถึงสิ่งทั้งปวงทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเกี่ยวกับมนุษย์ เทวดา
พรหม สัตว์ เปรต อสูรกาย และทุกสิ่งทุกอย่างที่มี
การอยู่อย่างมีความสุขในยุคโลกาภิวัตน์
สังคมในปัจจุบันนี้มีความเปลี่ยนแปลงไปมาก
การที่จะดำรงชีวิตอย่างมีความสุขในยุคโลกาภิวัฒน์นี้จะต้องอาศัยหลักธรรมทางพุทธศาสนา ดังนี้
1.)ความรู้เท่าทันสถานการณ์ของโลก
การรู้เท่าทันสถานการณ์ต่าง ๆ นั้น หลักธรรมทางพระพุทธศาสนา เรียกว่า
“พหูสูต”
คือมีความรอบรู้ในวิชาการต่าง ๆ ในโลกปัจจุบัน มีความรู้ทันสมัย ซึ่งแบ่งออก
2 ประการคือ
(1)รู้บางสิ่งในทุกสิ่ง (To
know Something in everything)หมายถึงสิ่งทั้งหลายในโลกที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน
เรารู้ไว้แต่ไม่จำเป็นต้องรู้ละเอียดลึกซึ้งหรือเจาะลึก
(2)รู้ให้หมดในบางสิ่ง (To
know everything in
Something ) หมายถึงสิ่งบางอย่างที่มีความสำคัญต่อเรา เป็นหน้าที่ต้องรู้ให้ละเอียดลึกซึ้ง
2.)รู้เท่าทันโลกธรรม โลกธรรมคือธรรมประจำโลก
ในสังคมมนุษย์ต้องมีสิ่งแปดประการเกิดขึ้นในภัคสมอง (พระเทพวิสุทธิกวี,2538)
“ มีลาภ เสื่อมลาภ
มียศ เสื่อมยศ
สรรเสริญ นินทา
สุข ทุกข์ ”
คุณธรรมสร้างความสุข (พระเทพวิสุทธิกวี)
1.)ขันติ ขันติเป็นธรรมะที่ประเสริฐอย่างหนึ่งในพุทธศาสนา มี 3 ประการ
1.อดทนต่อความยากลำบากตรากตรำจากการทำงานหรือจากการศึกษาเล่าเรียน
2.อดทนต่อความเจ็บไข้ได้ป่วย
3.อดทนต่อความเจ็บใจ
การดูหมิ่นดูแคลน
เหยียดหยามของคนอื่น
2.)เมตตา เป็นธรรมที่ทำใจให้เบิกบาน เป็นธรรมะชั้นกรรมฐาน ทำให้เกิดความสุข
เรามีเมตตาต่อเพื่อนมนุษย์มากเท่าใด
ความสงบสุขก็แผ่กว้างไปมากเท่านั้น
3.)การเสียสละ คือการไม่เห็นแก่ตัว
คนเราถ้ามีการเสียสละจิตใจก็จะมีความสุขซ้ำยังทำให้คนอื่นมีความสุขอีกด้วย
4.)การให้อภัย คือการไม่ถือโทษโกรธขึ้นกับใครจิตใจดีก็จะมีความสุข วิธีให้อภัยได้ง่ายๆคือ ให้คิดถึงความดีของผู้นั้น แม้เขาจะมีความชั่วขนาดไหนก็ไม่ต้องไปคิดถึง การทำให้ใจมีความสุขต้องมองโลกในแง่ดี ส่วนชั่วนั้นอย่าไปรู้
5.)การปล่อยวาง การปล่อยวางเป็นคุณธรรมที่ทำให้มีความสุข ไม่ยึดมั่นในตัวตน ไม่ยึดมั่นในอำนาจ โลภ
โกธร หลง
บุคคลผู้มีความคิดเห็นหรือเจตคติถูกต้องในเรื่องใดแล้วย่อมพร้อมเสมอที่จะลงมือปฏิบัติเพื่อให้บรรลุเป้าหมายในเรื่องนั้น เจตคติที่ถูกต้องจึงมีอิทธิพลต่อจิตใจบุคคลเป็นอันดับแรก
ทั้งนี้เพราะเห็นได้หรือซาบซึ้งในคุณค่าของการปฏิบัตินั้น ๆ แล้ว
เมื่อใดบุคคลเห็นคุณค่าและเกิดความซาบซึ้งทั้งใฝ่นิยมความดีงาม ความสุจริต
และมีความคิดเห็นที่ถูกต้องแล้ว
เมื่อนั้นความประพฤติในสิ่งที่ดีงาม
ประพฤติสุจริต
จะเกิดความมั่นคงและเป็นไปตามความสมัครใจ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น