วันอังคารที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2557

                                     จัดทำโดย
     นายธีรนันท์  โพธิ์ศรีเรือง  รหัส 563232022022-6
     นายศุภกิจ  แสงมาลี           รหัส 563232022006-4
     นายรัฐพล  เมืองสิทธิ์         รหัส 563232022021-8

     นายอนุชิด  ดงกลาง            รหัส 563232022026-7
หลักธรรมพื้นฐานเพื่อเสริมสร้างแนวความคิดและเจตคติของบุคคล
  1.ความละอายและเกรงกลัวต่อความชั่ว (หิริโอตตัปปะ) ความละอายบาปละอายต่อการทำความชั่วทางศาสนาเรียกว่า  หิริ  คนที่มี  หิริ  จะรู้สึกละอายต่อการทำความชั่วอยู่เสมอไม่ว่าจะมีใครเห็นหรือไม่ก็ตาม
  2.การประกอบความดี  เป็นหลักธรรมสำคัญที่ทุกศาสนาสอนให้คนประพฤติปฏิบัติ  จริยธรรมเบื้องต้นของการทำความดีนี้ พุทธศาสนาเรียกว่า  กุศลธรรมบถ  ซึ่งแปลว่าทางแห่งกุศลธรรม  มี  10  ประการ  แบ่งเป็น  กายธรรม  วจีกรรม  4  มโนกรรม  4
  3.การรู้จักโลกและและการรู้แจ้งโลกในทางพระพุทธศาสนาหมายถึงสิ่งทั้งปวงทั้งสิ้น  ไม่ว่าจะเกี่ยวกับมนุษย์  เทวดา  พรหม  สัตว์ เปรต อสูรกาย  และทุกสิ่งทุกอย่างที่มี  
การอยู่อย่างมีความสุขในยุคโลกาภิวัตน์
สังคมในปัจจุบันนี้มีความเปลี่ยนแปลงไปมาก  การที่จะดำรงชีวิตอย่างมีความสุขในยุคโลกาภิวัฒน์นี้จะต้องอาศัยหลักธรรมทางพุทธศาสนา  ดังนี้
                                1.)ความรู้เท่าทันสถานการณ์ของโลก  การรู้เท่าทันสถานการณ์ต่าง ๆ นั้น หลักธรรมทางพระพุทธศาสนา  เรียกว่า  พหูสูต”  คือมีความรอบรู้ในวิชาการต่าง ๆ ในโลกปัจจุบัน  มีความรู้ทันสมัย  ซึ่งแบ่งออก  2 ประการคือ
                                (1)รู้บางสิ่งในทุกสิ่ง (To   know Something  in  everything)หมายถึงสิ่งทั้งหลายในโลกที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน  เรารู้ไว้แต่ไม่จำเป็นต้องรู้ละเอียดลึกซึ้งหรือเจาะลึก
                                (2)รู้ให้หมดในบางสิ่ง (To  know  everything  in  Something ) หมายถึงสิ่งบางอย่างที่มีความสำคัญต่อเรา  เป็นหน้าที่ต้องรู้ให้ละเอียดลึกซึ้ง
2.)รู้เท่าทันโลกธรรม  โลกธรรมคือธรรมประจำโลก  ในสังคมมนุษย์ต้องมีสิ่งแปดประการเกิดขึ้นในภัคสมอง  (พระเทพวิสุทธิกวี,2538)
                                                                               


โลกธรรม  8
มีลาภ  เสื่อมลาภ  มียศ  เสื่อมยศ
สรรเสริญ  นินทา  สุข  ทุกข์

คุณธรรมสร้างความสุข (พระเทพวิสุทธิกวี)
  1.)ขันติ  ขันติเป็นธรรมะที่ประเสริฐอย่างหนึ่งในพุทธศาสนา  มี  3  ประการ
                1.อดทนต่อความยากลำบากตรากตรำจากการทำงานหรือจากการศึกษาเล่าเรียน
                2.อดทนต่อความเจ็บไข้ได้ป่วย
                3.อดทนต่อความเจ็บใจ  การดูหมิ่นดูแคลน  เหยียดหยามของคนอื่น
  2.)เมตตา  เป็นธรรมที่ทำใจให้เบิกบาน  เป็นธรรมะชั้นกรรมฐาน  ทำให้เกิดความสุข เรามีเมตตาต่อเพื่อนมนุษย์มากเท่าใด  ความสงบสุขก็แผ่กว้างไปมากเท่านั้น
  3.)การเสียสละ  คือการไม่เห็นแก่ตัว  คนเราถ้ามีการเสียสละจิตใจก็จะมีความสุขซ้ำยังทำให้คนอื่นมีความสุขอีกด้วย
  4.)การให้อภัย  คือการไม่ถือโทษโกรธขึ้นกับใครจิตใจดีก็จะมีความสุข  วิธีให้อภัยได้ง่ายๆคือ  ให้คิดถึงความดีของผู้นั้น  แม้เขาจะมีความชั่วขนาดไหนก็ไม่ต้องไปคิดถึง  การทำให้ใจมีความสุขต้องมองโลกในแง่ดี  ส่วนชั่วนั้นอย่าไปรู้
  5.)การปล่อยวาง  การปล่อยวางเป็นคุณธรรมที่ทำให้มีความสุข  ไม่ยึดมั่นในตัวตน ไม่ยึดมั่นในอำนาจ  โลภ  โกธร  หลง



การใช้เจตคติที่ถูกต้องทำให้เกิดการพัฒนาตนเองและสังคม


บุคคลผู้มีความคิดเห็นหรือเจตคติถูกต้องในเรื่องใดแล้วย่อมพร้อมเสมอที่จะลงมือปฏิบัติเพื่อให้บรรลุเป้าหมายในเรื่องนั้น  เจตคติที่ถูกต้องจึงมีอิทธิพลต่อจิตใจบุคคลเป็นอันดับแรก  ทั้งนี้เพราะเห็นได้หรือซาบซึ้งในคุณค่าของการปฏิบัตินั้น ๆ แล้ว เมื่อใดบุคคลเห็นคุณค่าและเกิดความซาบซึ้งทั้งใฝ่นิยมความดีงาม  ความสุจริต  และมีความคิดเห็นที่ถูกต้องแล้ว  เมื่อนั้นความประพฤติในสิ่งที่ดีงาม  ประพฤติสุจริต  จะเกิดความมั่นคงและเป็นไปตามความสมัครใจ
ประโยชน์ของความสามัคคี
  ๑. ความสุขใจ เพราะ ใจที่มีความรักใคร่นับถือเป็นอารมณ์ย่อมแช่มชื่นเบิกบาน
  ๒. ความสำเร็จในการดำรงชีวิต ชีวิตเรามีความสุขได้เพราะความสามัคคีของหมู่คณะ ดังพุทธภาษิตที่ตรัสสั่งสอนไว้ว่า สุขา สังฆัสสะ สามัคคีแปลว่า ความพร้อมเพรียงของหมู่ทำให้เกิดสุข
โทษของการแตกสามัคคี
การแตกสามัคคีย่อมเป็นทางแห่งหายนะอย่างยิ่ง และเป็นทางแห่งความทุกข์ ระทมขมขื่นเป็นอันมาก ทุก ๆ สังคมถ้าแตกความสามัคคีกันแล้ว ความล่มจมตกต่ำก็จะเกิดขึ้น
ความกตัญญู
ความหมาย ความกตัญญู หมายถึง ความเป็นผู้รู้คุณที่คนอื่นทำให้แก่ตน และ ความกตัญญูนี้ คือ ความดีที่เป็นพื้นฐานของคนดี เมื่อคนดีมีความกตัญญูเป็นพื้นฐานแล้ว ความดีทั้งหลายก็ไหลไปอยู่กับคนดี เหมือนลำธารทุกสายไหลลงสู่แม่น้ำใหญ่ แต่คนดีที่คิดทำดีต่อและสนองดีตอบนั้น มีอยู่ ๒ จำพวก คือ
  ๑. คนดีแบบมีเงื่อนไข (คนดีไม่บริสุทธิ์ เห็นแก่ตัว)
  ๒. คนดีแบบไม่มีเงื่อนไข (คนดีบริสุทธิ์ ไม่หวังผลตอบแทน)
ลักษณะความกตัญญู
  ลักษณะความกตัญญูที่นักศึกษาจะต้องแสดงออกให้ปรากฏนั้นมีอยู่ ๓ ประเด็นที่ควร
ศึกษาคือ
  ๑. กตัญญูต่อบุคคล เช่น ลูกกตัญญู ศิษย์กตัญญู พลเมืองกตัญญู และ ศาสนิกชนมีความกตัญญู
  ๒. กตัญญูต่อสัตว์ สัตว์ทั้งหลายที่มีคุณต่อมนุษย์นั้นมี ช้าง ม้า วัว ควาย เป็นต้น ที่ใช้เป็นพาหนะ ลากซุง เทียมเกวียนและไถนา เป็นต้น คนกตัญญู ย่อมรู้คุณของสัตว์เหล่านี้
  ๓. กตัญญูต่อสิ่งที่ไม่มีวิญญาณ บรรดาสิ่งของเครื่องใช้ที่เป็นคุณประโยชน์แก่ตน หรือสิ่งที่ป้องกันภัยอันตรายได้ในเวลาอับจนมาแล้ว คนกตัญญูย่อมรู้สึกรักใคร่ไม่อยากให้ใครเอาไปได้หรือเอาไปทำลายเสีย บางทีถึงต้องเปล่งวาจาว่าสิ่งนี้คู่ชีวิตทีเดียว ตัวอย่างเช่น ไม้คานที่ใช้หาบของขาย เมื่อเจ้าตั้งตัวได้เป็นคนมั่งมีศรีสุขขึ้น คิดถึงคุณของไม้คานได้ เลี่ยมทองเก็บไว้ เป็นที่ระลึก เป็นต้น
ลักษณะของคนที่กตัญญูรู้คุณ ควรมีลักษณะดังนี้
  ๑. มีความซื่อสัตย์
  ๒. จงรัก และภักดี
  ๓. อ่อนน้อมถ่อมตน
  ๔. มีสติระลึกได้อยู่เสมอ
  ๕. ไม่ประทุษภัยต่อคน สัตว์ และสิ่งของ
  ๖. ไม่ลบหลู่ดูหมิ่นผู้มีคุณ
๑.๒ หลักธรรมพื้นฐานในการดำรงชีวิต
ปัจจัย ๔ ที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิตได้แก่ อาหาร ผ้านุ่งห่ม ที่อยู่อาศัย และยารักษา มีความสำคัญจำเป็น สำหรับการดำรงชีวิตของมนุษย์มากฉันใด หลักธรรมพื้นฐานก็มีความสำคัญจำเป็นสำหรับการดำรงชีวิตมากฉันนั้น
๑.๒.๑ หลักธรรมพื้นฐานของศาสนาที่ตนนับถือเพื่อใช้ในการดำรงชีวิตในครอบครัว
หลักธรรมพื้นฐานของศาสนาที่ตนนับถือเพื่อใช้ในการดำรงชีวิตในครอบครัวจะอธิบายเป็นข้อๆ ดังนี้คือ
หลักธรรมของคู่ชีวิต
หลักธรรมของคู่ชีวิต ที่จะทำให้คู่สมรสมีชีวิตที่สอดคล้องกลมกลืนเป็นพื้นฐานอัน มั่นคง
ที่จะทำให้อยู่ครองกันได้ยืนยาวเรียกว่า สมชีวธรรม ๔
สมชีวธรรม ๔ สมชีวธรรมมีข้อปฏิบัติ ๔ ประการ คือ
  ๑. สมสัทธา มีศรัทธาสมกัน เคารพนับถือในลัทธิศาสนา สิ่งเคารพบูชาและหลักการต่าง ๆ ตลอดแนวความสนใจอย่างเดียวกัน หนักแน่นเสมอกันหรือปรับเข้าหากันลงกันได้
  ๒. สมสีลา มีศีลสมกัน คือ ความประพฤติ ศีลธรรมจรรยา มารยาท พื้นฐาน การ
อบรม พอเหมาะพอสม สอดคล้องไปกันได้
  ๓. สมจาคา มีจาคะสมกันคือ มีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ ความโอบอ้อมอารี มีใจกว้าง ความเสียสละ ความพร้อมที่จะช่วยเหลือเกื้อกูลผู้อื่นพอกลมกลืนกันไม่ขัดแย้งบีบคั้นกัน
  ๔. สมปัญตา มีปัญญาสมกัน คือ รู้เหตุ รู้ผล เข้าใจกัน อย่างน้อยพูดกันรู้เรื่อง
หลักธรรมของครอบครัว
หลักธรรมของครอบครัวเพื่อให้การดำรงชีวิตอยู่ร่วมกันเป็นไปอย่างดีมีความสุขเรียกว่า
ฆราวาสธรรม ๔
ฆราวาสธรรม ประกอบด้วยองค์ ๔ ประการที่ครอบครัวพึงปฏิบัติ คือ
  ๑. สัจจะ หมายถึง สัตย์ซื่อต่อกัน
  ๒. ทมะ หมายถึง รู้จักข่มจิตตัวเอง
  ๓. ขันติ หมายถึง อดทน
  ๔. จาคะ หมายถึง สละให้ปันสิ่งของของตนแก่คนที่ควรให้ปัน หรือคนที่ควรแบ่งให้
๑.๒.๒ หลักธรรมพื้นฐานของศาสนาที่ตนนับถือเพื่อใช้ในการดำรงชีวิต
ในสังคม
  หลักธรรมพื้นฐานของศาสนาที่ตนนับถือเพื่อใช้ในการดำรงชีวิตในสังคมสามารถอธิบายแยกเป็นข้อๆ ได้ดังนี้

สามัคคีธรรม
  ความหมาย สามัคคี คือ ความพร้อมเพรียงกัน คนตั้งแต่สองคนขึ้นไปมีความคิด เห็นร่วมกันและมีความรักใคร่นับถือกันปฏิบัติหน้าที่ร่วมกัน จนทำหน้าที่ได้สำเร็จ เรียกว่า มีความสามัคคี
ความสามัคคีมีประเด็นที่ต้องพิจารณาอยู่ ๒ ประเด็นคือ การแสดงออกทางการทำงาน และความนึกคิดทางจิตใจ เพื่อสะดวกในการศึกษาเรื่องความสามัคคีแบ่งออกเป็น 2 อย่างคือ
  ๑. ความสามัคคีทางกาย หมายถึง การร่วมด้วยช่วยกันการใช้แรงกายทำกิจกรรมต่างๆ ให้บรรลุผลสำเร็จ
  ๒. ความสามัคคีทางใจ หมายถึง การมีจิตใจที่จะกระทำสิ่งใดๆ ร่วมกันโดยมีความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน

การปลูกความสามัคคี
  วิธีปลูกความสามัคคีหรือสมานสามัคคี ตามพุทธโอวาท ทรงสอนให้ยึดหลักธรรม สาราณียธรรมหมายถึง ธรรมที่ควรพิจารณาอยู่เนื่อง ๆ เป็นข้อปฏิบัติเป็นแนวปฏิบัติที่ทำให้บุคคลและกลุ่มคนมีความเห็นพร้อมต้องกัน มีความสามัคคีกัน
สาราณียธรรม มีสาระที่สำคัญโดยย่อๆ ดังนี้คือ
  ๑. จะทำจะพูดจะคิดสิ่งใด ก็ให้ทำ ให้พูด ให้คิดสิ่งนั้น ด้วยเมตตาจิตต่อผู้อื่น
  ๒. รู้จักเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ต่อผู้อื่น
  ๓. รักษาความประพฤติ กิริยามารยาทตลอดจนศีลธรรมวัฒนธรรมให้เสมอกับผู้อื่น
  ๔. มีความคิดเห็นร่วมกันกับคนอื่น